วิสัยทัศน์การพัฒนา
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาเป็นผลลัพธ์สูงสุดในการพัฒนาองค์กร เพื่อการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมุ่งไปในทิศทางที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์อันสูงสุดที่ตั้งไว้ การกำหนดวิสัยทัศน์จึงเป็นหลักชัยในการพัฒนาที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาของ องค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ คือ “น้อมนำการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำงานเป็นทีมแบบการมีส่วนร่วม สร้างความเข้มแข็งในชุมชน”
พันธกิจ
1.พัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
2.ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน
3.ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมแบบมีส่วนร่วมและดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
4.พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มศักยภาพของชุมชน
วิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดบุรีรัมย์
“การท่องเที่ยวแหล่งอารยธรรม สร้างคุณภาพชีวิตดี
มีหลักธรรมาภิบาล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ มุ่งจะบริหารจัดการภารกิจต่างๆ ขององค์กรอย่างเป็นระบบ โปร่งใส มีคุณภาพ ทั้งการประสานงานและการบริการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการบริการประชาชนทุกระดับ ที่ครอบคลุมทุกด้านด้วยคุณภาพ เพื่อบรรลุปณิธานนี้เราจะดำเนินภารกิจ ดังนี้
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการบริหารจัดการองค์กรโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยมุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงาน ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุน ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงาน ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงาน ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จารีต ประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน ส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งอารยธรรม การลงทุนและการพานิชยกรรมของจังหวัด
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงาน ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน
6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงาน ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุน การลงทุนขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดบุรีรัมย์
1.ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
1.1 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยว
1.2 พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้หลากหลาย
1.3 พัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยว
1.4 พัฒนาทรัพยากรบุคคลรองรับการท่องเที่ยว
2.ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและการเกษตร
2.1 นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก แก้ไขปัญหา ความยากจน
2.2 พัฒนาคุณภาพสินค้าการเกษตร
2.3 พัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตร
2.4 ส่งเสริมการผลิตในระดับครัวเรือนอย่างมีมาตรฐาน
2.5 ส่งเสริมและพัฒนาการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
2.6 พัฒนาแหล่งน้ำรองรับชุมชน
2.7 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพและการเกษตรอินทรีย์
2.8 ส่งเสริมการตลาดสินค้าชุมชน
3.ยุทธศาสตร์บ้านเมืองน่าอยู่และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.1 พัฒนาบุคคลากร
3.2 ยึดหลักธรรมาภิบาล
3.3 ส่งเสริมการศึกษา ยึดหลักคุณธรรมนำความรู้
3.4 ส่งเสริมการกีฬา
3.5 ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.6 ส่งเสริการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.7ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิตระดับครอบครัวและชุมชน
3.8พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในพื้น
วิสัยทัศน์ของจังหวัดบุรีรัมย์
“เป็นสังคมเกษตรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบ้านเมืองน่าอยู่
และเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางอารยะธรรมขอม”
พันธกิจ
สร้างรายได้ให้แก่ราษฎร โดยการพัฒนาอาชีพทางด้านการเกษตร การยกระดับสิ้นค่าชุมน การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการประกอบอาชีพการศึกษา การสาธารณสุข การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดบุรีรัมย์
1. ยุทธศาสตร์สังคมเกษตรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
1.1 พัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตร
1.2 ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีคุณภาพ
1.3 ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชน
1.4 ส่งเสริมด้านการตลาด
2. ยุทธศาสตร์บ้านเมืองน่าอยู่
2.1 การจัดการผังเมืองที่เป็นระบบ
2.2 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.3 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
2.4 ส่งเสริมความมั่นคง และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
3.1 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
3.2 พัฒนาเครือข่ายการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
3.3 พัฒนาสินค้าและการบริการการท่องเที่ยว
|